สิ่งแรกที่ต้องทราบก่อนจะเข้าสู่เนื้อหา Elliott Wave ก็คือเรื่องของความสัมพันธ์ของคลื่นหรือ Relationships เราจะใช้ตัวเลขสัดส่วน Fibonacci เข้ามาช่วยกำหนดสัดส่วนเราเรียกรวมกันว่า Fibonacci Relationships ซึ่งก่อนที่จะใช้เครื่องมือชนิดนี้ได้ จำเป็นที่จะต้องฝึกมองและรู้จัก สูงสุด-ต่ำสุด (High-Low) อย่างดีเสียก่อนครับ

(Fibonacci คืออะไรค้นได้จากอินเตอร์เน็ต เพื่อไม่ให้เนื้อหาเยิ่นเย้อมากเกินความจำเป็น ขออนุญาตข้ามเนื้อหาส่วนนี้ไปครับ)

มาเริ่มกันเลยครับ

ตัวเลขสัดส่วน Fibonacci ที่นิยมและมีความแม่นยำแบ่งเป็น

1. พบบ่อย 38.2, 50, 61.8, 100, 161.8 และ 261.8

2. พบบ้างบางครั้งคราว 80, 123.6, 138.2, 150, 200 และ 238.2

 

คลิกที่รูปเพื่อรับชมคลิปทาง Youtube

  

  • ตัวแรกคือการปรับฐานหรือ Retacement, Retract ดังรูปด้านบนเราจะใช้คลื่นแรก(x) เป็นตัวตั้ง (100%) โดยเมื่อจบคลื่นแรกจะเกิดการเปลี่ยนทิศทางดังรูปคือเปลี่ยนจากขึ้นเป็นลง (หรือจากลงเป็นขึ้น) อย่างนี้เราเรียกว่า "ปรับฐาน" หรือ Retracement รูปบนเรียกว่าคลื่น X ปรับฐาน หรือคลื่น y ปรับฐานคลื่น x อย่างนี้ก็ได้
  • หรืออีกนัยหนึ่งคือ คลื่น X คือ Action (แรงกระทำ) และคลื่น Y คือ Reaction (แรงสะท้อนกลับ)
  • ความยาวของคลื่น y จะเป็นสัดส่วนกับคลื่น x เสมอๆตามตัวเลข 38.2 และ 61.8% (50% พบบ้างแต่น้อย) ก่อนที่จะวิ่งตามทิศทางของแนวโน้มเดิมต่อไป (ในที่นี้คือแนวโน้มตามคลื่น x)
  • ความยาวของคลื่น Retracement (y) จะเป็นเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของคลื่น X กล่าวคือนักเรียนต้องรู้จักรูปแบบของเทรน X เพื่อทำกำไรในเทรน y  นั่นเองครับ
  • มีกฏอยู่ข้อเดียวสำหรับการปรับฐานหรือ Retracement คือคลื่น Retrace (y) จะต้องไม่ยาวกว่าคลื่นหลัก (x)

Internal Relationships คือการเปรียบเทียบสัดส่วนคลื่นที่ไปในทิศทางเดียวกัน (แตกต่างกับการปรับฐานซึ่งเปรียบเทียบคลื่นที่เป็นทิศทางตรงข้ามกัน) คือหลังจากที่คลื่น x ปรับฐานเป็นคลื่น y และเมื่อคลื่น y จบลงราคาได้วิ่งไปตามทิศทางเดิมคือวิ่งขึ้นกลายเป็นคลื่น z ซึ่งคลื่น z นี้จะมีทิศทางเดียวกับคลื่น x ดังรูป และ x กับ z ก็จะมีความสัมพันธ์หรือเป็นสัดส่วนกันตามตัวเลข Fibonacci ที่มักพบได้บ่อยที่สุดคือ 61.8, 100, 161.8 และ 261.8%

  • คลื่น Z จะมีความยาวเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของคลื่น y และสัดส่วนที่คลื่น y ทำกับคลื่น x ทั้งในแง่ของราคาและเวลา นั่นหมายความว่านักเรียนจะต้องรู้จักรูปแบบของคลื่น y เพื่อทำกำไรในคลื่น z
  • หรืออีกนัยหนึ่งอาจพูดได้ว่า คลื่น X และ Y คือ Action (แรงกระทำ) ส่วนคลื่น Z คือ Reaction (แรงสะท้อนกลับ)
  • รูปบนเป็นการเปรียบเทียบแบบ Internal Relationships โดยใช้คลื่นแรกหรือคลื่น x เป็นตัวตั้ง (100%) คลื่น z ก็เป็นสัดส่วนกับคลื่น x (นิยมใช้มากที่สุด แม้ไม่ใช้ทฤษฎี Elliott Wave ก็ตาม)

รูปบนนี้แสดง Internal Relationships แต่ให้คลื่นถัดมาเป็นตัวตั้งคือให้ z เป็นตัวตั้ง (100%) ให้ x เป็นสัดส่วนกับ z (นิยมใช้ในการตรวจสอบรูปแบบย้อนหลังใน Elliott Wave เท่านั้น)

External Relationships แนวคิดการเปรียบเทียบสัดส่วนเดียวกับ Internal Relationships ต่างกันที่จุดเริ่มต้นของคลื่นที่สองเท่านั้น ดังรูปด้านบนระยะของคลื่น z จะไม่ใช้จาก y ถึง z เหมือนกับการวัดแบบ Internal Relationships แต่จะใช้จุดสิ้นสุดของ x เป็นจุดเริ่มต้นของ z ดังรูปด้านบน

  • คลื่น Z จะมีความยาวเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบของคลื่น y และสัดส่วนที่คลื่น y ทำกับคลื่น x ทั้งในแง่ของราคาและเวลา นั่นหมายความว่านักเรียนจะต้องรู้จักรูปแบบของคลื่น y เพื่อทำกำไรในคลื่น z
  • หรืออีกนัยหนึ่งอาจพูดได้ว่า คลื่น X และ Y คือ Action (แรงกระทำ) ส่วนคลื่น Z คือ Reaction (แรงสะท้อนกลับ)
  • รูปด้านบนเป็นการเปรียบเทียบโดยให้คลื่น x เป็นตัวตั้ง (100%) คลื่น z เป็นสัดส่วนกับคลื่น x ตามตัวเลขของ Fibanacci

รูปบนคือ External Relationships ที่ให้คลื่น z เป็นตัวตั้งและคลื่น x ก็จะเป็นสัดส่วนกับคลื่น z

 

 
* Internal Relationships นิยมใช้ทั่วไป หากเป็นทฤษฎี Elliott Wave ก็จะใช้กับรูปแบบ Standard
** External Relationships จะใช้กับทฤษฎี Elliott Wave ที่เป็นรูปแบบ Non-standard ซึ่งวิธีการใช้งานค่อนข้างที่จะซับซ้อนกว่าแบบ Internal ผู้ใช้งานจำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่อง Elliott Wave เป็นอย่างดีการใช้งานการเปรียบเทียบลักษณะนี้จึงจะมีประสิทธิภาพ

 

ขอให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทุกท่านอ่านบทความจบแล้วก็ร่ำรวย ๆ สุขกายสบายใจทุกท่านครับ ^/\^ ...

  • ติดต่อสอบถามคอร์สเรียน แนะนำติชมมาที่ Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., Line ID: i_woottichai
  • แอท FaceBook มาพูดคุยกันที่ www.facebook.com/woottichai.insawang
  • เว็บบอร์ดคนรัก Elliott Wave ที่ www.advance-elliottwave.com/forum