• คอร์ส Advance Elliott Wave นี้เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาและผู้ที่ต้องการต่อยอดความรู้เดิม ทั้งตัวทฤษฎีในชั้นสูงและวิธีการนำทฤษฎี Elliott Wave ไปใช้อ่านตลาดและทำกำไร นอกจากผู้ใช้งานทั้ง 2 กลุ่มข้างต้นแล้ว กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการประสบความสำเร็จในการลงทุนผมอยากให้ท่านเข้าเรียนคอร์สนี้มากที่สุด. Elliott Wave จะทำให้ทราบทิศทางของราคาและอารมณ์ตลาดในช่วงก่อนเกิดความผันผวนหรือปรับฐานหนัก ผู้ใช้งาน Elliott Wave จะทราบถึงสภาวะเหล่านี้ก่อนกลุ่มอื่น ๆ นั่นเท่ากับเป็นการปิดทางขาดทุน เมื่อปิดทางขาดทุนได้แล้วก็จะเริ่มมองหาช่องทางในการทำกำไรเป็นขั้นตอนต่อไป
  • ความแข็งแกร่งของแนวโน้ม ถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากครับ นักลงทุนที่ทราบขนาดของความแข็งแกร่งของแนวโน้ม จะสามารถบริหารความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลาได้ การกำหนดขนาดของการลงทุนตามความเสี่ยงและโอกาส ถือเป็นไม้เด็ดของผมเลยครับ ทฤษฏี Elliott Wave ตอบโจทย์เรื่องนี้อันดับ 1 เลยครับ
  • TIME กฏทางด้านเวลาผมจะโฟกัสไปที่ 2 มุมมอง มุมมองแรกคือมุมมองของเป้าหมายทางด้านเวลาในแต่ละคลื่น โดยนักเรียนจะสามารถรู้ได้ว่าคลื่นที่กำลังก่อตัวอยู่นี้จะมีเป้าหมายเวลาอยู่กี่นาที กี่ชั่วโมง กี่วันหรือกี่ปี และมุมมองที่ 2 คือการใช้เวลาเพื่อตรวจสอบการจบของสภาวะตลาดหรือชุดคลื่น เช่นตรวจสอบการจบสภาวะของ Side Way เพื่อหาการเริ่มต้นของแนวโน้ม เป็นต้น
  • กำหนดจุดเข้าซื้อ-ขาย และเป้าหมายราคาในแต่ละจังหวะของสภาวะตลาดให้เหมาะสำหรับการลงทุนทั้ง ระยะสั้น กลาง และยาว เพื่อทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

 

แนวทางและเนื้อหาหลักสูตร

เนื้อหาของหลักสูตรผมจะแบ่งเป็น 2 Part (นักเรียนจะได้เรียนทั้ง 2 Part) ใน Part แรกจะเป็นส่วนของทฤษฎี Elliott Wave และใน Part ที่ 2 คือ Elliott Wave Real Time นักลงทุนบางท่านอาจยังไม่มีไอเดียในการใช้งานทฤษฎี Elliott Wave เพื่อซื้อขายจริง ผมจะแก้ไขปัญหาส่วนนี้ให้ครับ สำหรับเนื้อหาในส่วนของ Real Time นั้นดูได้ที่หัวข้อ Elliott Wave Real Time ครับ

คลิกอ่าน Elliott Wave Real Time

 

เนื้อหา Advance Elliott Wave

 นอกจากเนื้อหา Elliott Wave แล้ว ยังมีส่วนของงานวิจัยที่ผมเก็บข้อมูลของตลาดในปัจจุบันมาสอนด้วย ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นกุญแจหรือ Key Point สำคัญของการลงทุนเลยครับ

1. Principle and Basic

  • Mono wave คือหลักการที่ว่าด้วยเรื่องของการเริ่มต้นนับคลื่น (หรือบางคนอาจเรียกว่าการแกะคลื่นก็ไม่ผิดครับ) สัญลักษณ์ที่ใช้ในบทเรียนนี้คือ m1, m2, m3.....m13
  • Retracement แนวคิดเรื่องแรงสะท้อนกลับของชุดรูปแบบ (Action-Reaction)
  • Completely Retrace แนวคิดการตรวจสอบการจบชุดของคลื่นราคา (Phase)
  • Degree Separate แนวคิดและหลักการแยก Degree (คลื่นใหญ่ คลื่นย่อย)

 

2. Elliott Wave Pattern Mind Map

เริ่มต้นเรียนเรื่องรูปแบบก็ต้องมีแผนที่ของชุดรูปแบบ สำหรับแผนที่การเรียนรู้นี้จะมีอยู่ 2 แผ่น แผ่นแรกก็คือแผ่นของ Pattern วัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการจดจำ อีกแผ่นหนึ่งคือ Elliott Wave Real Time Mind Map วัตถุประสงค์ของแผนที่ฉบับนี้คือใช้นำทางในขั้นตอนการทำทฤษฎีมาประมวลผล (วิเคราะห์) เพื่อใช้ในการทำกำไร

 

3. Impulsion Rules (กฏของรูปแบบแนวโน้มแบบ 5 คลื่น) เรื่องของแนวโน้ม 5 คลื่นถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ราคาแนวโน้ม นักเรียนจะต้องรู้จักแนวโน้มชนิดนี้ (Impulsion 1-2-3-4-5) เพื่อแยกมันออกจากแนวโน้มแบบ Non Standard Correction (abc x abc 'x abc') เพื่อให้สามารถทำกำไรในแนวโน้มทั้ง 2 แบบได้

  • กฏเหล็กของ Impulsion เป็น 3 กฏง่ายๆ ที่ใช้แยกระหว่าง Impulsion และ Correction ออกจากกัน
  • รูปแบบ 1st Extension, 3rd Extension และ 5th Extension
  • การใช้เส้น Trend Line ตรวจสอบ และหานัยยะของรูปแบบราคา
  • รูปแบบที่สะท้อนวิกฤติการณ์ Terminal Impulsion และ 5th Wave Failure

 

4. Fibonacci Relationship (Impulsion)

เรื่องของสัดส่วนราคาเป็นเรื่องสำคัญที่ผมจะเน้นเป็นพิเศษ เพราะถ้านักเรียนไม่เข้าใจเรื่องนี้จะไม่สามารถเข้าทำกำไรในแต่ละคลื่นราคาได้เลย

และในเรื่องของสัดส่วนราคาเราจำเป็นจะต้องทราบขนาดของแรงเหวี่ยง ฉะนั้นในบทนี้เราจะข้ามไปทำความเข้าใจเรื่องของรูปแบบ Correction (หรือรูปแบบการสะสมตัวของราคานั่นเอง) เพราะรูปแบบ Correction แต่ละแบบจะให้ขนาดของเป้าหมายราคาที่แตกต่างกันออกไปตามขนาดของพลังที่พวกมันสะสมนั่นเอง เช่น Flat ขนาดเล็กให้เป้าเพียงแค่ 61.8% แต่ในขณะเดียวกัน Flat ขนาดใหญ่ให้เป้าหมายถึง 161.8% หรือรูปแบบ Strong B อย่างตระกูล Running กลับสร้างผลกระทบที่แตกต่างอย่างมากมายมหาศาลคือให้เป้าหมายถึง 261.8%, นอกจากนั้นก็ยังมี Correction ตระกูล Zigzag และ Triangle อีกด้วย เหล่านี้จะสร้างแรงเหวี่ยงและให้ราคาเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป

 

5. Standard Correction

  • Flat เป็น Standard Correction ที่ค่อนข้างมีความสำคัญในการสร้างแนวโน้ม นักเรียนจะได้เรียนความหมาย (อารมณ์ตลาด) และแรงเหวี่ยงทั้ง 8 แบบของ Correction Flat
  • Zigzag รูปแบบนี้มีความซับซ้อนต่ำ อารมณ์ตลาดที่ให้ก็แตกต่างกับรูปแบบ Flat นักเรียนจะต้องรู้ว่าเมื่อมันเกิดแล้วมันจะสร้างแนวโน้มชนิดใด
  • Triangle ตัวสุดท้ายคือรูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) อันที่จริง Triangle ถือว่าเป็นรูปแบบที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมจะสอนพวกเราให้เข้าใจ Concept หรือแนวคิดก่อนที่จะไปเรียนเรื่องของรูปแบบ เพราะแนวคิดหรือ Concept เป็นวิธีการอธิบายสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และสิ่งที่ลืมไม่ได้คืออารมณ์ตลาดของรูปแบบ Triangle ในแต่ละแบบครับ

 

6. Confirmation

ถ้าถามผมว่า "อะไรสำคัญที่สุด" ในทฤษฎี Elliott Wave ผมคงต้องว่าการ Confirm รูปแบบราคา หรือการเช็คการจบของรูปแบบราคานั่นเอง ทำไมเราต้องเช็คการจบ? ตอบว่าการเช็คการจบของรูปแบบราคาทำให้เราสามารถหาจุดเข้าซื้อ-ขายได้แม่นยำและปลอดภัยหวังผลได้มากที่สุดนั่นเอง ยกตัวอย่าง "เช็คการจบแนวโน้มก่อนหน้าเพื่อซื้อ-ขายในคลื่นแรก (1 หรือ A)" "เช็คการจบคลื่น 2 เพื่อซื้อ-ขายในคลื่น 3" "เช็คการจบคลื่น 4 เพื่อซื้อ-ขายในคลื่น 5" "เช็คการจบคลื่น B เพื่อซื้อ-ขายในคลื่น C" "เช็คการจบชุดรูปแบบ ABCX เพื่อซื้อ-ขายในรูปแบบ Nonstandard Correction" เป็นต้น

 

7. Time Rule

ในบทนี้เราจะเรียนเรื่องของการหาเป้าหมายในด้านเวลา เช่นเราคำนวณแล้วว่าราคาจะวิ่งไปที่ 100 บาท แต่เวลาล่ะกี่ชั่วโมงหรือกี่วัน (ที่จะวิ่งไปหาเป้า 100 บาท) ใช้วิธีใด้ในการคิดคำนวณ ก็ต้องมาดูที่กฏของเวลาครับ (Time Rule)

 

8. Complexity Level

บทนี้เราจะเริ่ม Advance กันมากขึ้น อันที่จริงผมไม่อยากใช้คำว่าซับซ้อนเลย ฟังดูมันยุ่งยากยังไงไม่รู้ เพราะที่จริงในระดับ Advance ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนอะไรเลย เป็นเพียงการนำความรู้ในระดับต้นๆ มาต่อยอดเพิ่มเติมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้นเองครับ เนื้อหาในบทนี้ในขั้นตอนการใช้งานจริงจะไม่ถูกนำไปใช้ แต่เราต้องเรียนเพราะมันเป็น Concept เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของรูปแบบที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นครับ

  • Level 0 = Mono-wave
  • Level 1 = Poly-wave
  • Level 2 = Multi-wave
  • Level 3 = Macro-wave

9. Nonstandard Correction

Nonstandard Correction คือการนำรูปแบบ Standard Correction มาเชื่อมต่อกันนั่นเองครับ (Flat, Zigzag, Triangle) หรือบางทีอาจจะเรียกว่ามันก็คือ Standard Correction นั่นล่ะ แต่มันไม่จบเพียงแค่นั้น กลับมี Standard Correction อีกตัว (หรือ 2 ตัว) มาเชื่อมต่อโดยมี X-wave เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Standard Correction ด้วยกัน พูดอย่างนี้ก็ไม่ผิดครับ

  • Trend ถ้าพูดถึงแนวโน้ม จะมีแนวโน้มอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกคือ Impulsion (1 2 3 4 5) ในชุดรูปแบบนี้ทำกำไรได้ทุกคลื่น และอีกหนึ่งชุดรูปแบบของแนวโน้มที่นักเรียนจะต้องหาการเริ่มต้นและเป้าหมายราคาได้ก็คือแนวโน้มแบบ Nonstandard Correction หรือจะเรียกว่า Nonstandard Trend ก็ไม่ผิด (รูปแบบนี้ถ้าสามารถ Confirm การเกิดได้ก็สามารถทำกำไรได้ทุกคลื่นเช่นกัน)
  • Sideway เป็น Nonstandard Correction ชนิดสะสมตัวออกด้านข้าง รูปแบบชนิดนี้เราจะรอให้มันจบ จากนั้นตัวมันเองจะบอกทิศทางและเป้าหมายที่มันจะเหวี่ยงไปได้ พบน้อยแต่ต้องรู้จักเอาไว้ครับ จะได้คำนวณแรงที่มันจะเหวี่ยงราคาให้ขึ้นหรือลงได้อย่างแม่นยำ....ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถซื้อขายในชุดคลื่นของมันไม่ได้ อันที่จริงแล้วทำได้ครับ เรามาลองทำความรู้จักและมาหาแท็กติคในการเล่นกันครับ (หัวข้อนี้ผมจะนำเรื่องของ Time Rule มาโฟกัสร่วมด้วย เพราะเป็นตัวที่ใช้ตรวจสอบการจบรูปแบบและหาเป้าหมายในด้านเวลาคลื่นถัดไปครับ)

 

10. Fibonacci Relationship Nonstandard Correction Trend

หัวข้อนี้เราจะโฟกัสไปที่การหาเป้าหมายของ Nonstandard Correction ชนิดที่เป็นแนวโน้มครับ เพราะรูปแบบนี้เราจะเข้าไปอยู่ในตลาดเพื่อทำกำไร ฉะนั้นก็ต้องหาเป้าหมายในการทำกำไรให้ได้ครับ อีกจุดหนึ่งที่ผมเสริมเข้ามาก็คือ การหาจุดเริ่มต้นของการเกิดแนวโน้มแบบ Nonstandard Correction เมื่อไรที่เราจะเริ่มนับ a b c x a b c (x a b c) แล้วเข้าไปทำกำไร

 

11. Trend line (Channeling) for Nonstandard Correction Trend

เรื่องของเส้น Channel ผมจะโฟกัสที่รูปแบบ Nonstandard Correction ชนิดที่เป็นแนวโน้มเช่นกันครับ เพราะเส้นเทรนจะเป็นตัวตรวจสอบการจบรูปแบบ และนัยยะของการเกิดรูปแบบถัดไป

 

12. Power Rating Table

เรื่องนี้พูดถึงพลังที่ซ่อนอยู่ในชุดรูปแบบ Correction ทั้งส่วนที่เป็น Standard และ Nonstandard นอกจากนั้นยังพูดถึงค่า Retracement เมื่อชุดรูปแบบแต่ละแบบจบลงด้วย

 

13. Sub Divide Rule and Concept

เป็นกฏของ Degree หรือคลื่นในรอบใหญ่และรอบย่อย (จริงๆแล้วไม่ใช่กฏ) เนื้อหาในส่วนนี้ควรจะเรียกว่าแนวคิดหรือ Concept มากกว่าครับ

 

14. Where to start a count?

บทนี้เราจะมาฝึกหาจุดเริ่มต้นในการนับคลื่นกันครับ โดยส่วนใหญ่เราก็จะใช้จุดสูงสุด-ต่ำสุดเป็นจุดเริ่มต้นในการนับ นอกจากนั้นก็ยังมีบางรูปแบบที่ไม่สามารถจะใช้จุดสูงสุด-ต่ำสุดเริ่มต้นนับได้

 

15. Missing wave

เรื่องสุดท้ายก่อนที่จะไปเนื้อหา Real Time เราจะมาเรียนเรื่องของแนวคิดและรูปแบบที่มีปัญหาอย่าง Missing Wave กันครับ ส่วนวิธีการนำ Missing Wave มาใช้ประโยชน์เราจะไปเรียนกันในหัวข้อ Real Time ครับ