Trend Line Method ตอนที่ 1 Introduction and Basic
หนังสือเล่มนี้ผมเคยแปลลงเว็บไซต์เวอร์ชั่นเก่าเมื่อปี 2013 เห็นว่ามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเรียนรู้ทำความเข้าใจกราฟราคา จึงได้นำมาลงอีกครั้ง
อุดหนุนซื้อหนังสืออาจารย์ Patrick ได้ที่เว็บ Amazon โดยใช้ชื่อหนังสือเป็นคีย์เวิร์ดค้นหาหรือตามลิงค์นี้ครับ Amazon Trend line Method
ในเรื่องของ Trend Line Method ผมแปลและเรียบเรียงจากหนังสือ The Best Trend Line Methods of Alan Andrews and Five New Trend Line Techniques แต่งโดย Patrick Mikula วิธีการวิเคราะห์ราคา ของ Alan Andrew's นั้นเป็นวิธีการในยุคแรกๆนับตั้งแต่มีการคิดค้นการวิเคราะห์เชิงเทคนิคหรือ เรียกว่าเป็นยุคก่อนคอมพิวเตอร์เฟื่องฟูก็ได้ Trend Line Method นั้นมีวิธีการที่ลึกซึ้งและเปี่ยมไปด้วยชั้นเชิง เชื่อว่าทุกคนต้องเคยลากเส้นเฉียง ๆ ที่ลากจากต่ำไปต่ำที่สูงกว่า (Higher Lows) หรือจากสูงไปสูงที่ต่ำกว่า (Lower Highs) แน่นอน นั่นเป็นหนึ่งในพื้นฐานของทฤษฎี Trend Line Method เท่านั้นซึ่งตัวทฤษฎีจริง ๆ แล้วค่อนข้างที่จะมีความซับซ้อนแต่ทว่าเข้าใจได้ไม่ยาก ผมเชื่อว่า The Best Trend Line Methods of Alan Andrews and Five New Trend Line Techniques จะเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่จะช่วยให้คุณเข้าใจสภาวะและพฤติกรรมของตลาดจนสามารถสร้างสไตล์หรือระบบเทรดของตัวเองได้อย่างแน่นอน
Trend Line Method by Alan Andrew's นั้นมีเนื้อหาจากพื้นฐานไปจนถึงแนวคิดชั้นสูงโดยแบ่งออกเป็นตอน ๆ ผมก็จะทำเนื้อหาอัพเดทไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะจบยังไงก็ติดตามอ่านกันไปเรื่อย ๆ นะครับ
เนื้อหาหลายๆส่วนนั้นผม ก็จะเสริมในส่วนที่ผมเห็นว่าจำเป็นลงไป โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งาน Trend Line Method ร่วมกับ Elliott Wave ฉะนั้นจะเป็นการดีหากท่านเปิดหนังสือไปพร้อมๆกับอ่านบทความของผมไปด้วยครับ
Introduction by Patrick Mikula
ผมโชคดีที่ได้เข้ามาอยู่ในวงการก่อนยุคคอมพิวเตอร์เฟื่องฟู อีกทั้งยังได้ศึกษาตำรับตำราในยุค 1950-1980 ซึ่งคอมพิวเตอร์ยังไม่มีอิทธิพลมากขนาดในยุคปัจจุบันนี้ ซึ่งตำราและความรู้ในยุคนั้นมีการพูดถึงการใช้งาน Trend line ในแบบที่ลึกซึ้งมากกว่าหนังสือที่วางขายอยู่ในปัจจุบันมากนัก ผมได้รู้จักทฤษฏีของ Alan Andrews ครั้งแรกเมื่อปี 1986 ในหนังสือที่ชื่อว่า "Technical Analysis of the Futures Markets," by John Murphy หลังจากนั้นผมก็ค้นคว้าเรื่องนี้เรื่อยมา และหนังสือของผมเล่มนี้ก็อ้างอิงมาจากทฤษฏีของ Alan Andrews ทั้งสิ้น
ในงานที่ปรึกษาที่ Commodity Trading Advisor(CTA) ผมได้พบปะกับผู้ที่ใช้งานทฤษฎีของ Alan Andrew จำนวนมากจากงานสัมมนา และที่นี่เองที่ผมมีโอกาสได้สอบถามพูดคุยกับผู้ที่มีประสบการณ์การใช้งาน ทฤษฎีของ Alan Andrews มานานนับสิบปี และในงานสัมมนาของ Alan Andrew เองเขากล่าวว่าทฤษฎี (Trend Line Method) ของเขาได้รับอิทธิพลและมีพื้นฐานมาจากงานวิจัยของ Roger Babson ในปี 1930, ซึ่ง Roger Babson ได้รับความเชื่อถือเป็นวงกว้างจากการวิเคราะห์ถึงหายนะทางเศรษฐกิจในปี 1929 อย่างแม่นยำเหนือนักวิเคราะห์คนอื่น ๆ สิ่งที่ Roger Babson ค้นพบนั้นคือสิ่งที่ไม่มีใครค้นพบมาก่อน อนึ่งงานวิจัยของผมนั้นมีพื้นฐานและแนวคิดมาจากงานของ Alan Andrews ที่ต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Roger Babson อีกทอดหนึ่ง
ทฤษฎีของ Roger Babson และ Alan Andrews นั้นมีรากฐานจากเหตุและผลเดียวกัน แต่ทว่าวิธีการนั้นแตกต่างกัน Roger Babson นั้นใช้การลากเส้นลักษณะ Center Line ของ High-Low ก่อนหน้า วิธีการแบบนี้คือการเฉลี่ยค่าของการ Swing ของราคาโดยขีดเส้น Center Line, เชื่อว่า Babson ใช้วิธีการนี้ในการหาจุดสิ้นสุดของแนวโน้มราคาทั้งขาขึ้นและขาลง และก็เชื่อว่าวิธีเดียวกันนี้ที่ Babson ใช้วิเคราะห์หายนะทางเศรษฐกิจในปี 1929
วิธีการของ Alan Andrew’s นั้นก็เป็นลักษณะ Price Moving ของเส้น Center Line เช่นกันแต่วิธีการนั้นแตกต่างกับวิธีของ Babson, วิธีการของ Babson นั้นใช้ได้ดีกับตลาดหุ้นและเศรษฐกิจในระดับ Long Term แต่วิธีการของ Alan Andrew’s มันเหมาะกับพวก Day Trader หรือการเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดเก็งกำไร แต่ในท้ายที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็นวิธีการของ Babson หรือ Alan Andrew’s มันก็ให้ผลในทางเดียวกันคือพวกเขาสามารถทำกำไรจากตลาดได้อย่างมากมายมหาศาลเหมือนกัน นอกจากนั้นผมยังได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังการบรรยายของ Alan Andrew’s พวกเขาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เงินล้านเป็นสิ่งที่จิ๊บจ๊อยมากหากได้ศึกษาทฤษฎีของ Alan Andrew’s
ทฤษฎีของ Andrew’s ถูกเผยแพร่เมื่อไรนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะเขาไม่เคยเผยแพร่ทฤษฎีของเขาเลยจนกระทั้ง Andrew เกษียณอายุ ผมไม่เคยเห็นนักลงทุนคนไหนที่นำทฤษฎีของ Andrew มาใช้จนกระทั่งกลางปี 1960
หนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 2 Section ใน Section แรกจะคุยเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นในทฤษฎีของ Andrew’s กันก่อนโดยผมจะสอดแทรกความคิดเห็นบางส่วนเข้าไปแต่ก็จะยังคงหลักการของ Andrew’s ไว้ไม่ผิดเพี้ยน ใน Section ที่ 2 นั้นจะเป็นทฤษฎี Trend Line Method ที่พัฒนาโดย Austin Financial Group โดยในส่วนนี้จะเป็นการพัฒนาเสียส่วนใหญ่แต่ผู้อ่านก็ยังจะสามารถที่จะแยกแยะ ระหว่างทฤษฎีต้นตำหรับของ Andrew’s กับการพัฒนาในยุคหลังๆนี้ได้ครับ
ในห้วงเวลาที่ Computer เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากอย่างในยุคปัจจุบัน วิธีการเก่าๆ ดั้งเดิมถูกหลงลืมไป นักเทรดจำนวนมากสามารถใช้ Computer ได้อย่างคล่องแคล่วแต่ยังไม่สามารถอ่านเกมการเงินได้ขาดซึ่งผิดกับนักวิเคราะห์รุ่นเก่าอย่างสิ้นเชิง จึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนหันมาศึกษา Trend Line Method เพิ่มพูนความรู้กันครับ
Patrick Mikula
คำนำผู้แปล
โดยส่วนตัวแล้วผมชอบการวิเคราะห์สไตล์นี้ คือการลากเส้นจิตวิทยาต่าง ๆ ตามหลักฐานทางสถิติที่กลายมาเป็นวิชาการให้นักวิเคราะห์ได้ใช้งานกัน จากคำนำในข้างต้นของ Patrick Mikula เขาได้พูดถึงคอมพิวเตอร์เอาไว้ด้วยซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง Indicator ที่ช่วยในการวิเคราะห์อย่างที่เรารู้จักกันดี ถึงแม้ว่า Patrick จะแสดงท่าทีไม่ค่อยชอบใจ Indicator มากนัก แต่ในบทท้าย ๆ เขาก็ยังพูดถึงการนำ Indicator เข้ามาใช้ร่วมกับ Trend Line Method ได้อย่างลงตัวและพอเหมาะพอเจาะ ซึ่งมันทำให้ผมได้มุมมองที่กว้างขึ้นไปอีกว่าเขาไม่ได้รู้สึกรังเกียจมัน แต่เขาพยายามที่จะบอกพวกเราว่า “คุณควรรู้ตำแหน่งในการใช้งานของมัน” บอกตามตรงว่ามันโดนใจผมตรงนี้แหล่ะครับ ในคอร์สอบรมผมมักบอกผู้เข้าอบรมเสมอ ๆ ว่า หากคุณรู้ว่าเมื่อไรควรใช้เมื่อไรไม่ควรใช้ (Indicator) คุณจะประสบความสำเร็จในการวิเคราะห์ราคา ปัญหาคือเราจะรู้ได้อย่างไร ? คำตอบคือต้องศึกษาเรื่องของ Chart ให้กระจ่างชัด ผมจะไม่ใช้คำว่า Basic เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ Basic คำว่า Basic แปลว่า เบื้องต้น พื้นฐาน หลาย ๆ คนใช้คำนี้บ่อยจนลืมความหมายที่แท้จริงแล้วพากันพูดไปในทำนองเดียวกันว่า “Basic ดีที่สุด” (ผมไม่เคยเห็นใครที่มีแค่ความรู้พื้นฐานในอาชีพนั้น ๆ แล้วประสบความสำเร็จใน อาชีพของตนเลยสักคน)
Trend Line Method จะช่วยทำให้เรามองเห็นปรากฏการที่เกิดขึ้นกับกราฟราคาในแต่ละช่วงเวลา ทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราจดจำลักษณะรูปแบบของกราฟราคาด้วย ผมรับรองว่ามันจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบหรือเทคนิคคอลหรือสไตล์การเทรดของแต่ละคนได้อย่างแน่นอน จึงขอเชิญชวนเพื่อนๆนักเทรดมาศึกษาเรื่องของ Trend Line Method กันอย่างจริงจังครับ
วุฒิชัย อินทร์สว่าง
Advance Elliott Wave .com
Bar Chart and Pivot
รูปบนแสดงลักษณะของ Top Pivot และ Bottom Pivot ที่เกิดการปรับตัวระหว่างแนวโน้ม ในเรื่องของการปรับตัวหรือปรับฐานนั้นสำคัญมากให้ลองฝึกสังเกตจากกราฟจริง ครับ
รูปบนแสดง Bar Chart ซึ่งจะแสดงราคาสูงสุด-ต่ำสุด และราคาเปิดจะเป็น Bar ยื่นออกทางด้านซ้ายมือ ส่วนราคาปิดนั้นจะเป็น Bar ยืนออกมาทางขวามือ
High to high and Low to Low Trend Line
รูปบนแสดงการขีดเส้น Trend Line แบบ High to High คือเส้น B-C และเส้น E-G ส่วนอีกแบบคือ Low to Low คือเส้น A-D และ F-H
*ให้ฝึกขีดในกราฟจริงให้คล่องครับ
High to Low and Low to High Trend line
รูปบนแสดงการขีดเส้นแบบ High to Low ตัวอย่างเช่นเส้น C-D และแบบ Low to High ตัวอย่างเช่นเส้น A-B
รูปบนแสดงเส้น Pivot Line ซึ่งจะเริ่มต้นที่จุด Pivot Low หรือ Pivot High (ตัวอย่างคือจุดที่ 1 และจุดที่ 2) ต่อมาเส้นนี้จะกลายเป็นแนวรับแนวต้านในอนาคต
ทั้งหมดนี้ก็คือการขีด เส้น Trend Line ในเบื้องต้นซึ่งเส้นเหล่านี้จะเป็นแนวรับ-แนวต้านในอนาคต กล่าวคือเมื่อราคาเคลื่อนไหวเข้าใกล้เส้น Trend Line มันก็มักจะเกิดการปรับตัว กลับตัวระยะสั้นๆ หรือเปลี่ยนแนวโน้มไปเลยก็มีในบางครั้ง
สำหรับบท Introduce และ Basic ก็จบเท่านี้ ในบทต่อไป Medial Line จะเป็นเนื้อหาที่ค่อนข้างลึกขึ้นไปอีกขั้นฉะนั้นก่อนที่จะไปบทต่อไปเราต้องมองให้เห็นลักษณะหรือพฤติกรรมของราคาให้ออกเสียก่อน
แนวโน้มขาขึ้น จากจุดต่ำสุดไปจนถึงจุดสูงสุดราคาก็ไม่ได้ขึ้นแบบแบบพรวดเดียวถึงจุดสูงสุดเลยแต่จะขึ้นในลักษณะขั้นบันได คือขึ้นแล้วปรับตัวลงประมาณหนึ่งแล้วขึ้นยาวเลยยอดเก่าไปจนถึงระยะหนึ่งก็ปรับตัวลงอีกและก็วิ่งขึ้นเลยยอดเก่าไปและปรับตัวลง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นสุดแนวโน้ม ฉะนั้นเส้น Trend Line จะช่วยทำให้เรามองเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ของราคาได้ง่ายขึ้นให้ลองสังเกตและฝึกขีดเส้นดูครับ
แนวโน้มขาลง สำหรับขาลงก็เช่นเดียวกับขาขึ้นครับ คือราคาไม่ได้วิ่งลงจากจุดสูงสุดไปจุดต่ำสุดในครั้งเดียวเลย แต่เป็นการลงในลักษณะขั้นบันไดคือลงแล้วปรับขึ้นประมาณหนึ่งแล้วลงไปต่ำกว่า ต่ำเก่าแล้วปรับตัวขึ้นอีกครั้ง เป็นอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปครับ...
www.advance-elliottwave.com