สวัสดีเพื่อน ๆ นักลงทุนที่รักทุกท่าน บทความนี้เราจะมาปูพื้นหลักการสำคัญก่อนเรียน Elliott Wave กันจริง ๆ จัง ๆ ครับ

ในเรื่องของรูปแบบ Impulsion และ Standard Correction ถือเป็นหลักการและรูปแบบพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาชั้นสูง ไปจนถึงการวาง Trade Setup และกลยุทธ์ในการเข้าทำกำไร ณ จุดต่าง ๆ ของคลื่นราคา

 

ก่อนเรียน

 

1. หนังสือ/ตำรา

    ในส่วนของตำราช่วงที่เริ่มต้นศึกษาผมจะใช้ตำราของ 2 ค่ายใหญ่ ๆ คือ Glenn Neely (รูปซ้าย) และ Robert Prechter (รูปขวา) พอศึกษาและทดลองไปเรื่อย ๆ ก็เลิกใช้ของ Robert Prechter (ถึงกระนั้นตำราเล่มนี้ก็ยังคงเป็นอาจารย์ของผมเสมอ) ดังนั้นถ้าจะศึกษาเพื่อใช้งานจริงผมแนะนำตำราเล่มซ้าย คือ Glenn Neely ครับ

 

2. Fibonacci Relationships

   สัดส่วน Fibonacci ถือเป็นหลักการสำคัญที่ใช้หาเป้าหมายราคาและประเมินจุดกลับตัวดังนั้นปูพื้นเรื่องนี้ก่อนครับ คลิกที่นี่ >>>  Fibonacci Relationships

 

3. อัพเดทความรู้และกลยุทธ์ทำกำไร

   ให้ติดตามที่เมนู Elliott Wave Article ครับ

 

สภาวะตลาด

 

หัวข้อนี้จะเป็น Workshop หรือแบบฝึกในการแกะคลื่นนะครับ (ภาพประกอบด้านล่าง)

สภาวะตลาดโดยรวมเราจะแยกเขาออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ สภาวะตลาดที่เป็น Trend หรือมีแนวโน้ม (ลูกศรสีน้ำเงิน) กับสภาวะตลาดที่ไม่มีแนวโน้มหรือ Sideway (กรอบสีแดง) ก่อนจะนับคลื่นจำเป็นต้องมีทักษะในการแยกสภาวะตลาดทั้ง 2 แบบนี้ก่อน

Trend จะเกิดในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนทางจากขึ้นเป็นลง/จากลงเป็นขึ้น จากรูปจะเห็นว่าก่อนจะเปลี่ยน Trend เป็นขาขึ้นจะเกิดเทรนขึ้นมา (ลูกศรน้ำเงินแรก) นอกจากนั้น Trend ยังเกิดหลัง Side way จบ จากรูปก็คือหลังกล่องสี่เหลี่ยมสีแดงจะเกิดเทรนลูกศรน้ำเงินขึ้นทุกครั้ง

Sideway บางครั้งเรียกว่าปรับฐาน พักฐาน หรือปรับตัว แต่ภาษา Elliott Wave เราจะเรียกว่ารูปแบบ Correction ตำแหน่งที่เราจะพบคือเขาจะเกิดหลัง Trend จากในรูปก็คือพอลูกศรน้ำเงินจบก็จะเกิดรูปแบบ Correction ในกล่องสีแดงขึ้น

ให้ทุกท่านดูกราฟย้อนหลังแล้วทำแบบฝึกหัดนี้มาก ๆ ยังไม่ต้องสนใจว่าถูกหรือผิด ให้ฝึกทำไปเรื่อย ๆ จะเกิดทักษะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในตลาดขึ้นมาเอง, ด้วยการฝึกง่าย ๆ อย่างนี้จะทำให้ท่านพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว อย่าได้ละเลยการฝึกพื้นฐานเด็ดขาดครับ

 

 

 

Impulsion

 

Impulsion คือ Trend ชนิดหนึ่งซึ่งจะมีทั้งหมด 5 คลื่น (แปลว่ายังมีเทรนที่มากกว่า 5 คลื่น ซึ่งเป็นเนื้อหาในระดับ Advance เราจะไม่พูดถึงในบทเรียนนี้) 

 

  

รูปบนแสดงสภาวะตลาดของ Trend แบบ 5 คลื่นหรือรูปแบบ Impulsion ทั้งขาขึ้น (Up Trend) และขาลง Down Trend)

 

 

 

รูปบนแสดง Impulsion ทั้ง 3 รูปแบบ

 

Impulsion จะแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหลัก ๆ ตามความยาวของคลื่น 1, 3 และ 5 ดังนี้

3rd Extension ถือเป็นรูปแบบที่เกิดบ่อยที่สุด คือคลื่น 3 ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับ 1-3-5 , หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคือ ให้ใช้ความยาวของคลื่น 1 เป็นตัวตั้ง แล้วความยาวของคลื่น x3 ต้องมากกว่า 161.8% ของคลื่น 1, ส่วนความยาวของ 5 ก็ไม่แน่นอนคือยาวได้ตั้งแต่ 100% ของ 1 จนเท่ากับคลื่น 3 ก็ไม่ผิดกติกา แต่การวาง Trade setup ไม่ควรวางเกิน 100% ของคลื่น 1 ดังรูปด้านล่าง

 

รูปบนแสดงสัดส่วน Fibonacci ของรูปแบบ 3rd Extension

 

 

รูปบนแสดงลักษณะกราฟในโหมดแท่งเทียนของรูปแบบ 3rd Extension

 

 

1st Extension (รูปประกอบด้านล่าง) ถือเป็นรูปแบบที่พบได้น้อยและเป็นแนวโน้มที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก เกณฑ์ในการพิจารณาคือคลื่น 1 จะต้องเป็นคลื่นที่ยาวที่สุดเมื่อเทียบกับ 1-3-5 โดยคลื่น 1 จะต้องยาว 161.8% ของคลื่น 3 (ขาดได้นิดหน่อย) วาง Trade Setup แล้ว 3 ไม่ควรเกิน 61.8% ของ 1 , ส่วนคลื่น 5 ก็จะยาวสูงสุดได้ใกล้เคียงกับ 3 ครับ ถ้าวาง Trade Setup ก็ไม่ควรวางเกิน 61.8% ของ 3 

รูปบนแสดงสัดส่วน Fibonacci ของรูปแบบ 1st Extension

 

 

รูปบนแสดงลักษณะกราฟในโหมดแท่งเทียนของรูปแบบ 1st Extension

 

 

5th Extension (รูปประกอบด้านล่าง) เป็นรูปแบบที่พบได้รองลงมาจาก 3rd Extension, รูปแบบ 5th Extension คือรูปแบบที่คลื่น 5 ยาวที่สุดใน 1-3-5 โดยคลื่น 3 จะยาวใกล้เคียงกับ 1, โดยทฤษฏี 3 ต้องไม่สั้นกว่า 1 แต่ในทางปฏิบัติแล้วนิดหน่อยถือว่าได้ครับ เพราะกุญแจของรูปแบบนี้คือคลื่น 4 ที่สะสมพลังมาก ๆ , เกณฑ์ในการเทียบสัดส่วนให้เทียบแบบ External โดยจับจาก 0-3 เป็น 100% แล้วยก 0% มาวางที่ยอดคลื่น 3 แล้วมองเป้าตามภาพล่าง

 

รูปบนแสดงสัดส่วน Fibonacci ของรูปแบบ 5th Extension 

 

 

รูปบนแสดงลักษณะกราฟในโหมดแท่งเทียนของรูปแบบ 5th Extension

 

 

รูปบนนี้ผิดนะครับ คือไม่นับเป็น Impulsion

จะไม่มีรูปแบบ Impulsion ที่คลื่น 1-3-5 ยาวเท่ากันหรือว่าใกล้เคียงกันแบบรูปด้านบน เราเรียกกฏเกณฑ์สำคัญนี้ว่า Extension Rule ครับ 

 

 

นอกจากนั้น Impulsion ยังมีกฏอีก 2 ข้อ สำหรับใช้ดูภาพรวมคือกฏ Essential Construction Rule และกฏของคลื่น 2-4 คือ Alternation Rule ตามภาพด้านบน, แต่ว่าใจความสำคัญทั้งหมดจะไปลงที่กฏ Extension Rule ตามที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ครับ

 

Essential Construction Rule

  • มี 5 คลื่นเรียงต่อกันเป็นแนวโน้มทั้งขาขึ้นและขาลง

  • มีคลื่น 1-3-5 เป็นคลื่นที่มีทิศทางเดียวกับเทรน และคลื่น 2-4 เป็น

    คลื่น Retracement

  • คลื่น 2 คือ Retracement ของ 1 ฉะนั้น 2 ต้องไม่ยาวกว่า 1

  • คลื่น 3 ต้องยาวกว่า 2

  • คลื่น 4 คือ Retracement ของ 3 ฉะนั้น 4 ต้องไม่ยาวกว่า 3

  • คลื่น 5 อาจยาวหรือสั้นกว่าคลื่น 4 ก็ได้ แต่คลื่น 5 ต้อง Retrace คลื่น 4 อย่างน้อย 1/3

  • คลื่น 3 ห้ามสั้นที่สุด (เทียบเฉพาะคลื่น 1-3-5)

 

 

Alternation Rule

คือกฏของคลื่น 2 และ 4 อธิบายโดยย่อที่สุดคือคลื่นย่อยของ 2 และ 4 จะต้องไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน ดังรูปด้านล่าง ถ้าคลื่น 2 เป็น Flat แล้วคลื่น 4 ต้องเป็นรูปแบบ Correction อื่น ๆ เช่น Triangle, Zigzag หรือคลื่นเดี่ยว (Mono-wave)

 

 

Standard Correction 

 

ตัวอย่างกราฟจริงและรายละเอียดของรูปแบบให้อ่านบทความนี้ครับ Sample Standard Correction

จะมีอยู่ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ Flat, Zigzag และ Triangle ในเบื้องต้นให้เราคิดแค่ว่าทั้ง 3 รูปแบบนี้ไปเป็นคลื่นย่อย ๆ ของคลื่น 2-4 ในรูปแบบ Impulsion ก็จะทำให้เราทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ (ในบท Advance นั้น Standard Correction มีตำแหน่งที่อยู่มากกว่านี้)

 

รูปบนแสดงกฏโดยภาพรวมของ Standard Correction

ในรูปบนให้จับแค่ Concept ก็พอนะครับ อธิบายคือให้เราดูกราฟย้อนหลังแล้วนำกฏของ Impulsion ทั้ง 3 ข้อไปเทียบ ถ้าผิดแม้แต่ข้อเดียวให้ถือว่าเป็นรูปแบบ Correction ทั้งหมด

 

 

 

รูปบนแสดง Standard Correction ทั้ง 3 รูปแบบ ตัวเลขด้านหลังคือรหัสคลื่นย่อย (ซึ่งไม่ใช่กฏแต่เป็นความน่าจะเป็น)

 

 

รูปบนแสดงตัวอย่างรหัสคลื่นย่อยของ Flat 3:3:5 , 3 ตัวแรกคือคลื่นย่อยของคลื่น A (A:3) ให้นับดูข้างในเขาจะมี 3 คลื่น, 3 ตัวที่สองคือคลื่นย่อยของคลื่น B (B:3) และ 5 ตัวสุดท้ายคือคลื่นย่อยของ C (C:5), อย่างที่บอกว่าคลื่นย่อยไม่ใช่กฏที่ห้ามผิดแต่เป็นความน่าจะเป็นของรูปแบบ ดังนั้นจะมากกว่าหรือไม่มีเลยก็ได้ครับ

 

Zigzag 

Zigzag ถือเป็นรูปแบบพื้นฐานที่เราพบได้บ่อยที่สุด จะเป็นลักษณะของเทรนเล็ก ๆ หรือ Sideway Down/Sideway up, ถ้าเป็นคลื่นย่อยในรูปแบบ Impulsion ก็มักจะเกิดในคลื่น 4, นอกจากนั้นยังเป็นคลื่นย่อยให้ตำแหน่งต่าง ๆ ในรูปแบบ Correction ด้วยครับ

Flat คือลักษณะของฟอร์มราคาที่สะสมพลังออกด้านข้าง เมื่อจบแล้วเทรนที่ตามมามักวิ่งรุนแรงดังรูปด้านล่างแสดง Flat เป็นคลื่นย่อยให้คลื่น 2 พอจบแล้วคลื่น 3 ก็จะถูกเหวี่ยง (โดยคลื่น 2) ขึ้นไปได้ไกล

 

รูปบนแสดงการเปรียบเทียบลักษณะของรูปแบบ Flat และ Zigzag เมื่อเป็นคลื่นย่อยในรูปแบบ Impulsion

 

 

รูปบนแสดงกฏที่ใช้แยกรูปแบบ Flat และ Zigzag ออกจากกัน

 

ความแตกต่างของทั้งสองรูปแบบนี้ก็คือความยาวของคลื่น B, คลื่น B ของรูปแบบ Flat จะยาวกว่า B ของ Zigzag วิธีการวัดขนาดให้ใช้ Fibonacci Retracement จับคลื่น A เป็น 100% ตามภาพด้านบน รายละเอียดของทั้งสองรูปแบบให้อ่านบทความนี้ครับ Sample Standard Correction

 

Triangle

รูปแบบ Triangle โดยหลัก ๆ แล้วจะมี 2 รูปแบบคือแบบบีบตัวหรือ Contracting กับแบบขยายตัวหรือ Expanding, สำหรับ Triangle จะเป็นรูปแบบที่พัฒนาได้ถึง 5 คลื่น ลง Label เป็น A-B-C-D-E

*นอกจากทั้งสองแบบตามที่กล่าวมาแล้วยังมีอีก 2 รูปแบบซึ่งนาน ๆ จะพบสักครั้งคือ Neutral Triangle และ Diametric Triangle 

รายละเอียดและตัวอย่างของรูปแบบ Triangle ให้อ่านบทความนี้ครับ Sample Standard Correction

 

รูปบนแสดงโครงสร้างของรูปแบบ Triangle ทั้งสองแบบ

 

สำหรับ Triangle ในทฤษฏี Elliott wave จะแตกต่างกับ Chart Pattern นิดหน่อยตรงที่ต้องมี 5 คลื่นตามรูปบน, ในแต่ละคลื่นของ Triangle มักจะมี 3 คลื่นย่อยตามภาพบน แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นกฏที่ห้ามผิดครับ

 

รูปบนแสดงโครงสร้างของ Neutral Triangle

 

 

รูปบนแสดง Diametric Traingle

 

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือความรู้ในจุดเริ่มต้นของการศึกษาทฤษฏี Elliott Wave ให้ทำความเข้าใจในตัวทฤษฎีก่อนแล้วฝึกดูกราฟย้อนหลังมาก ๆ ก็จะเกิดทักษะที่ทำให้ไปต่อในระดับ Advance ได้, โดย Elliott Wave จะมีจุดเล่นพลิกแพลงได้อีกเยอะมาก

ถ้าศึกษาต่อไปเรื่อย ๆ 

 

อ่านบทความจบแล้วก็ขอให้นักเรียนประสบความสำเร็จในการลงทุน ร่ำรวย ๆ กันถ้วนหน้าทุกคนทุกท่านครับ  ^/\^

 

  • ติดต่อสอบถามคอร์สเรียน แนะนำติชมมาที่ Email: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it., Line ID: i_woottichai
  • แอท FaceBook มาพูดคุยกันที่ www.facebook.com/woottichai.insawang
  • เว็บบอร์ดคนรัก Elliott Wave ที่ www.advance-elliottwave.com/forum